Trends & Lifestyle

 

กาดเกรียงไกรมาหามิตรจากโกดังเก็บไหดองผักผลไม้กับไหห้าหมื่นใบสู่โมเดลตลาดชุมชนยุคใหม่ไร้เงินสด 100%

กาดเกรียงไกรมาหามิตรจากโกดังเก็บไหดองผักผลไม้กับไหห้าหมื่นใบสู่โมเดลตลาดชุมชนยุคใหม่ไร้เงินสด 100%

ชาวเชียงใหม่คงไม่มีใครรู้จักเกรียงไกรผลไม้ที่ขึ้นชื่อเรื่องกระเทียมดอง และผลิตภัณฑ์ผลไม้ดองมากมาย รวมถึงผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป เป็นโรงงานแปรรูปผลไม้เก่าแก่ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ส่งขายลไม้แปรรูปให้กับตลาดทั่วเมืองเชียงใหม่ มีชื่อเสียงด้านความอร่อยที่เกิดจากเทคนิคการดองอันคิดค้นขึ้นจากผู้ก่อตั้งปัจจุบันเกรียงไกรผลไม้ถูกเปลี่ยนมือมาให้กับ คุณตุ้ย เนรมิต สร้างเอี่ยม แม่ทัพใหญ่ที่ยังคงสืบทอดภูมิปัญญาด้านการผลิตแบบดั้งเดิมเอาไว้ พร้อมกับพัฒนาและต่อยอดให้เกิดระบบการทำงานที่ทันสมัยขึ้น พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามตามสมัย พร้อมกับความฝันอีกมากมายต่อพื้นที่ของโรงงานดองผลไม้ ที่อยากจะก่อร่างสร้างให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นพื้นที่ชุมชนชาวแม่ริมและชาวเชียงใหม่อย่างแท้จริงและยั่งยืนมาหามิตร เพื่อสร้างมิตรภาพอันยิ่งใหญ่ 

ตลาดชุมชนเกรียงไกรมาหามิตร คือสถานที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเดินเข้ามาหามวลมิตร สร้างมิตรภาพใหม่ๆ ให้การ “มาหามิตร” ในที่สถานที่แห่งนี้ช่วยสร้าง “มหามิตร” ที่ยิ่งใหญ่ต่อไป“ผมคิดว่าตลาดมันไม่ใช่แค่สถานที่ซื้อขายของ ลองสังเกตดูเวลาที่คุณแม่เราไปตลาด เดินทักกันตั้งแต่หัวตลาดยันท้ายตลาด ผมจึงคิดว่าจริงๆ แล้วการไปตลาดมันคือมิตรภาพ มันคือชีวิตชีวา เราก็อยากเอาตรงนั้นมาไว้ที่นี่ เราอยากให้คนมาหากัน แล้วสุดท้ายก็เป็นมหามิตร เป็นมิตรอันยิ่งใหญ่”

คุณตุ้ย ปรับพื้นที่โรงงานดองผลไม้เดิมให้กลายเป็นพื้นที่รวบรวมร้านค้า ร้านอาหาร และเครื่องดื่มที่แตกต่างจากตลาดชุมชนทั่วไป เริ่มจากการคัดเลือกร้านค้าประจำจากเกณฑ์ที่หลายคนคิดไม่ถึง คือเลือกพ่อค้าแม่ค้าสูงอายุที่ต้องการทำงาน ไม่เพียงแต่จะช่วยให้พวกเขามีรายได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างคุณค่าให้กับตัวพวกเขาเอง เป็นผู้สูงอายุวัยเกษียณที่อยู่อย่างสุขสำราญ“พ่อกาดแม่กาดคือกระดุมเม็ดแรกของตลาดเลย เราจึงซีเรียสมาก ทุกคนเราสัมภาษณ์เอง ผมโฟกัสให้ตลาดนี้เป็นตลาดของชุมชน เราจึงโฟกัสที่คนในท้องถิ่นก่อน เราจึงหาผลิตภัณฑ์ที่คนในชุมชนจะซื้อ จะมากิน จะมานั่งเล่นเมื่อเราตั้งชื่อมันว่าคือกาดชุมชน มันต้องมีความสัมพันธ์กับชุมชนจริงๆ ผมจึงตั้งใจที่จะเอารายได้ของเรากลับเข้าสู่ชุมชนด้วยการบริจาคให้กับส่วนของการศึกษา โรงเรียน สถานพยาบาล และผู้สูงอายุ
สิ่งที่สองคือ เราใช้กรอบความคิดว่า ‘ยะด้วยใจ๋’ (ทำด้วยใจ) ดังนั้นสินค้าที่นี่จึงไม่ใช่สินค้าที่ซื้อมาแล้วขายไป สินค้าในนี้จึงเป็นงานแฮนเมดที่คนทำเอง หรือพวกของเก่า ของสะสม และที่สำคัญคือ พ่อกาดแม่กาดต้องเป็นคนในอำเภอแม่ริม และคนเชียงใหม่ ผมว่านี่คือการตอบโจทย์ของคำว่ากาดชุมชน”ร้านค้าทุกร้านไม่มีการเก็บค่าเช่า เพราะถือว่าทุกคนคือพันธมิตร แต่คุณตุ้ยใช้วิธีการหักแบ่งกำไรตามเปอร์เซ็นต์ที่ตกลงกันเอาไว้ เพื่อช่วยลดต้นทุนให้กับสินค้า ช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าขายของได้ในราคาไม่แพงเพราะไม่ต้องกังวลเรื่องต้นทุนค่าเช่า เป็นวิธีการที่เป็นมิตรต่อทั้งพ่อค้าแม่ค้า เป็นมิตรต่อลูกค้าที่ไม่ต้องซื้อของในราคาแพง และเป็นมิตรต่อผู้ประกอบการโครงสร้างเดิมถูกเก็บไว้ทั้งหมด ทั้งผนังลม และพื้นที่เป็นดิน ยกเว้นไห 50,000 ใบที่เคยใช้ดองผลไม้ซึ่งถูกจำหน่ายจ่ายแจกออกไปหมดแล้ว คุณตุ้ยตามหาซื้อกลับมาได้เพียง 3,000 ใบ จึงนำมาตกแต่งสถานที่เป็นกำแพงไห พร้อมกับปรับปรุงพื้นที่โรงงานให้น่าอยู่มากขึ้น เช่น การมีพัดลมตัวใหญ่ที่ช่วยถ่ายเทอากาศ การสร้างอาคาร 3 ชั้นที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก Cafe Apartment ในเวียดนาม ให้ชั้นล่างเป็นร้านขายน้ำแข็งไสกับขนมไทยฝีมือแม่อุ๊ย ให้ชั้นล่างเป็นร้านขายน้ำแข็งไสกับขนมไทยฝีมือแม่อุ๊ย โดยสัญญากับแม่ๆ ว่าจะรับซื้อขนมที่เขาทำทุกวันเพื่อให้เขามีรายได้ และให้เขาสืบสานการทำขนมไทยเอาไว้ไม่ให้หายไปไหน ชั้นสองเป็นร้านอาหารที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์จากเกรียงไกรผลไม้ ส่วนชั้นสามเป็นภูเขาไหแกลเลอรี คุณตุ้ยสร้างไว้ให้เป็นพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะสำหรับศิลปินท้องถิ่นรุ่นใหม่ที่ต้องการที่ปล่อยของ“โรงงานนี้มัน 40 ปีแล้วล่ะ ตั้งแต่ปี 2524 โกดังนี้ก็อยู่มาตั้งแต่ปีนั้น ทุกสิ่งในนี้ก็เป็นสถาปัตยกรรมเดิมทั้งหมด ก็คือมีช่องลม พื้นข้างล่างเป็นดิน เพียงแต่เราโรยหินปิดไป เพราะโกดังนี้ใช้ในการดองกระเทียม ดองบ๊วย ดองมะม่วง ซึ่งดองในไห และเราต้องวางไหไว้กับดิน เพราะดินมีความชื้น ช่วยทำให้การดองรสชาติดี ส่วนผนังที่เป็นช่องลม ก็เป็นการระบายอากาศที่ดี เพื่อให้ไปได้มีการหมุนเวียนอากาศ ช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีดองของอร่อยนั่นคือภูมิปัญญาของเขา”ร้านกาแฟที่ทำจากหลองข้าว

ก็เป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ที่หลายคนอาจจะไม่ทันคิด เพราะข้าวคือส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของชาวอุษาคเนย์ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ไม่ลืมรากเหง้าของข้าวที่หล่อเลี้ยงชีวิตให้อิ่มท้องและเติบโต และหลองข้าวก็คือที่เก็บข้าวของชาวล้านนา จึงนำมาประยุกต์ให้กลายเป็นร้านกาแฟที่ผสมผสานความเป็นญี่ปุ่นเพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงง่าย และตั้งชื่อร้านว่า โกเมะกุระ (Gomegura) หมายถึงสถานที่เก็บข้าวของชาวญี่ปุ่น

มีอีกหนึ่งฟังก์ชันที่น่าสนใจของตลาดแห่งนี้ คือโครงการกาดมือสะอาด Clean your hand by paying cashless น่าจะเป็นตลาดแห่งแรกในเชียงใหม่ที่ไม่มีการใช้เงินสดแบบ 100% ลดการสัมผัสเงินที่เป็นหนึ่งในแหล่งเชื้อโรค มาตรการนี้อาจสร้างเสียงบ่นอุบอิบจากผู้ใหญ่อยู่บ้าง แต่คุณตุ้ยเชื่อว่า ในอนาคตอันใกล้ การใช้เงินสดจะน้อยลงเรื่อยๆ จนอาจไม่มีการใช้เงินสดกันอีกต่อไปพื้นที่สำหรับชุมชนยังเหลือความฝันอีกมากมายที่ต้องการสร้างในพื้นที่แห่งนี้ ทั้งการสร้างพื้นที่สาธารณะให้ชาวแม่ริมสามารถเข้ามาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ได้เข้ามาพบปะญาติมิตร ตามชื่อตลาดและจุดประสงค์หลักของเกรียงไกรมาหามิตรแห่งนี้ ต้องการดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาของเกรียงไกรผลไม้ และยังมีบ้านไม้หลังเก่าที่ต้องการปรับปรุงซ่อมแซมให้ใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต “เราอยากจะให้โรงเรียนในอำเภอแม่ริม 5 แห่งมาวาดภาพในหัวข้อ ‘แม่ริมในมุมมองที่คนยังไม่เคยเห็น’ เพราะอำเภอนี้ไม่ได้มีแค่ม่อนแจ่ม เราอยากให้คนเห็นมุมอื่นของอำเภอแม่ริม อยากให้เห็นวิถีชีวิต เราจึงพยายามหาช่องทางที่จะช่วยส่งกลับไปให้ชุมชน แม้แต่ขวดน้ำของเราผมก็ทำเป็นแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวในอำเภอแม่ริม ทุกอย่างเราพยายามหาวิธีกลับไปที่ชุมชน ด้วยวิธีใดก็ตาม”ที่แห่งนี้จึงไม่ใช่แค่ตลาดและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเกรียงไกรผลไม้ หากแต่เป็นโมเดลของตลาดชุมชนที่น่าสนใจ ที่คุณตุ้ยต้องการสร้างให้เป็นพื้นที่สำหรับชุมชนอย่างแท้จริงและยั่งยืน

 

 

 


 

MAP ✣ TEL : +66905235223

Loading Map...

ฝากความเห็น




x