Trends & Lifestyle

 

หนึ่งวันที่กุฏีจีน "จุดกำเนิดขนมเค้กแห่งแรก บ้านโบราณหน้าอาทิตย์ และ วัดโบสถ์ซางตาครู้ส"

เรานัดกันกับทีมงานเพื่อจะไปเดินเล่นดูชุมชนกุฎีจีน เรามาถึงก่อนกำหนดเล็กน้อยเลยถือโอกาสสำรวจบริเวณชุมชน เมื่อมาถึงสิ่งแรกที่จะพบและตระหง่านสวยงามคือ วัดแต่ตัวอาคารเป็นโบสถ์แบบโปรตุเกส วัดซางตาครู้สเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีนเก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยบริเวณที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้กับพระราชวังเดิม สมัยธนบุรี สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชพระราชทานที่ดินให้แก่ชาวโปรตุเกสซึ่งร่วมทำการศึกต่อต้านพม่าจนได้รับชัยชนะ นักบวชชาวโปรตุเกสจึงได้เริ่มก่อสร้างอาคารวัดหลังแรกที่สร้างด้วยไม้ทั้งหมดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313 ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในชุมชนในปี พ.ศ. 2376 ทำให้อาคารวัดพังเสียหายทั้งหมด จึงต้องก่อสร้างใหม่ด้วยอิฐถือปูน และได้ก่อสร้างใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2459 ซึ่งคืออาคารวัดหลังที่เห็นในปัจจุบัน  ถ้าอยากเข้าชมข้างในให้แนะนำไปตรงกับวันอาทิตย์ เขาจะเปิดให้เข้าชมอากาศค่อนข้างร้อนเราเลยขอลัดเลาะเข้ามาในซอยเล็กๆที่เหมาะกับเดินหรือจักรยานเท่านั้น ผุ้ที่อาศัยในชุมชนนี้จึงไม่มีที่จอดรถในบ้านเรามาพบกับ ขนมฝรั่งกุฏีจีน ขนมไทยรากเหง้าโปรตุเกส-จีน สาเหตุที่เรียกว่าขนมฝรั่ง แน่นอนว่าขนมชนิดนี้ได้อิทธิพลมาจากตำรับตำราอาหารการกินของชาวยุโรป “โปรตุเกส” เป็นหนึ่งในชนชาติที่ติดต่อค้าขายกับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ลูกหลานของพวกเขาก็ยังสืบเชื้อสายและใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนกุฎีจีนมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าหน้าตาของพวกเขาจะกลมกลืนไปกับคนไทยแล้วก็ตาม ทีใช้วัตถุดิบ 3 อย่างง่ายๆ คือ ไข่เป็ด น้ำตาลทราย และแป้งสาลี ตีจนฟูแล้วเทใส่แม่พิมพ์ ว่ากันว่าต้นฉบับนั้นมาจาก  เตาอบแบบออริจินอลของขนมฝรั่งกุฎีจีนจะเป็นเตาทรงกระบอก ใช้ความร้อนจากถ่านด้านใต้ ปิดด้านบนด้วยฝาอะลูมิเนียมจนตัวแป้งสุก กรรมวิธีแบบนี้ยังพอมีให้เห็นอยู่ในชุมชน ที่ร้านหลานแม่เป้าเขาชวนเราเข้าไปชม ขนมฝรั่งกุฎีจีนจึงมีทั้ง 2 แบบคือแบบต้นตำรับไม่มีหน้า และแบบมีหน้า แม้ว่าจะเป็นของขึ้นชื่อประจำชุมชน แต่ปัจจุบันก็มีร้านทำขนมฝรั่งกุฎีจีนเหลือเพียงสองร้าน คือ หลานแม่เป้า และ ธนูสิงห์   รสชาติก็จะแตกต่างกันที่ความแข็งและนุ่มของสองเจ้านี้ ต้องลองชิมดูว่าชอบแบบไหน ขนมฝรั่งกุฎีจีนนี้ ถือเป็นต้นกำเนิดเค้กก้อนแรกของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ถัดไปไม่ไกลจะพบกับขนมบัวลอยญวนที่ปั้นกันสดสดแทบขายไม่ทันเพราะจำนวนจำกัดรสชาติอร่อย ดับกระหายได้ดี ตัวเนื้อบัวลอยก็มีรสชาติที่ไม่เคยทานที่ไหนมาก่อน  แต่เป็นบัวลอยไส้เค็มหอมกลิ่นเครื่องเทศไทยๆเดินไปในซอยไม่ไกลก็มาพบบ้านไม้สักโบราณ ที่อายุกว่าร้อยปี เรือนจันทนภาพตัวจั่วหน้าบันเป็นลายอาทิตย์ แกะสลักเป็นลายพุดตาน  โดยคุณพ่อของคุณแม่ทองคำเป็นผู้สร้าง ปัจจุบัน คุณจารุภา  จันทรภาพ เป็นผู้ดูแล โดยคนที่สนใจเข้าเยี่ยมชมในบ้านแนะนำให้ติดต่อเข้าไปก่อนทางชุมชนยินดีต้อนรับ วันที่เราไปโชคดีที่มีคนขอเข้าเยี่ยมชมเราเลยได้โอกาสเก็บภาพด้านในมาฝาก ที่นี่ถือเป็นบ้านที่ยังมีผู้อาศัยจริง และพี่แดงเล่าประวัติบ้านและชุมชนได้อย่างละเอียดราวกับเกิดขึ้นเมื่อไม่นานสักพักเราได้บอกลาพี่แดง  ท้องเริ่มส่งสัญญาณ ความหิว และร้านที่ในย่านนั้นก็มีไม่กี่ร้าน เราเลือกร้านอาหารโปรตุเกส ที่มีทั้งเมนู หมูอบมันฝรั่งสุตรโปรตุเกส หรือจะเป็น  มักโรนีสันในไก่สูตรโปรตุเกส โชคยังเข้าข้างที่วันนี้ร้านยังเปิด แต่ที่น่าเสียดายคือ เหลือเมนูไม่มากเราเลยได้ลองข้าวไข่เจียว เมนูจำเป็นแก้ขัดเป็นรางวัลปลอบใจเมื่ออิ่มท้องก็ต้องตามด้วยกาแฟ และ ขนม ที่นี่มี พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน  ที่เป็นทั้งคาเฟ่ และจุดพักศึกษาเรื่องราวของชุมชนได้เป็นอย่างดี เพราะที่นี่เขารวบรวมข้าวของเครื่องใช้ แบ่งเป็นบ้านสามชั้น ชั้นบนสุดมีดาดฟ้าให้ชมวิวเมืองได้ด้วยพอเดินจนครบเราก็มาสั่งขนม สัพแหยก ที่หาทานได้ที่นี่เท่านั้นสัพแหยกถือเป็นอาหารประจำบ้านของคนที่นี่ก็ว่าได้ โดยคำว่า “สัพแหยก” (สับ-พะ-แหยก) ชื่อสุดแปลกที่ไม่ค่อยคุ้นหูนี้ มองดูแล้วจะว่าไปก็คล้ายกับไส้กะหรี่ปั๊บ  แต่สิ่งที่ไม่เหมือนและเป็นเอกลักษณ์ของสัพแหยก ก็คือกลิ่นเครื่องเทศที่ค่อนข้างแรงกว่ากะหรี่ปั๊บอยู่พอสมควรแล้วเราก็ได้เวลาออกจากชุมชนโดยเดินไปไม่ไกลมากก็มาถึง ศาลเจ้าเกียนอันเกง สร้างโดยคนจีนที่ตามสมเด็จตากสินมหาราช ในครั้งที่ตั้งกรุงธนบุรี  ปัจจุบันอยุ่ในความดูแลของ สิมะเสถียร ถือเป็นศาลเจ้าที่สวยงามและเก่าแก่มาก และถูกสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้งใน สมัย รัชกาล ที่ 3ก่อนที่เราจะไปรอขึ้นเรือข้ามฟากที่วัดกัลยา หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยและข้ามฝั่งไปที่ร้าน The deck    ร้านที่คิวจะแน่นมากให้รีบไปตั้งแต่ร้านเปิด 16.30 เพราะเพียงชั่วพริบตา ร้านจะแน่นด้วยนักท่องเที่ยวที่มาจับจองชมวิว พระอาทิตย์ตกดินกับวิว วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ราคาเครื่องดื่มก็อยู่ราว 250 บาท แต่ถือว่าเป็นการปิดทริปที่สวยงาม ตราตึงกับวิววัดอรุณที่สวยงาม

MAP ✣ TEL : 0817725184

Loading Map...

ฝากความเห็น




x